มาตรฐานฉบับนี้ไม่ได้กำหนดข้อกำหนดเบ็ดเสร็จสำหรับผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมที่นอกเหนือจากความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ
ตามกฎหมาย และระเบียบต่างๆ และความมุ่งมั่นที่จะทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามที่ระบุไว้ในนโยบาย ดังนั้นสองหน่วยงาน
ที่ทำกิจการเหมือนกัน แต่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อาจถือได้ว่าดำเนินการถูกต้องตามข้อกำหนดทั้งคู่
การนำเทคนิคการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างมีระบบสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่ายที่สนใจ อย่างไรก็ตามการนำมาใช้ไม่ใช่เป็น
การรับประกันว่าจะเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงควร
สนับสนุนให้องค์กรได้ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ตามความเหมาะสม และประหยัดให้ได้ดีที่สุด นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี
อย่างคุ้มค่า
มาตรฐานฉบับนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะระบุ และไม่ได้รวมเอาข้อกำหนดสำหรับลักษณะปัญหาด้านการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
ไว้ด้วย อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้เป็นการบั่นทอนกำลังใจในการรวบรวมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร กระนั้นก็ด
ีกระบวนการในการรับรอง/การจดทะเบียนจะใช้ได้กับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
มาตรฐานฉบับนี้มีหลักการเกี่ยวกับระบบการจัดการที่เหมือนกับอนุกรมมาตรฐาน ISO9000 เรื่องมาตรฐานระบบคุณภาพ ดังนั้น
องค์กรอาจจะเลือกใช้ระบบการจัดการที่มีอยู่ซึ่งสอดคล้องกับอนุกรมมาตรฐาน ISO9000 เป็นพื้นฐานในการจัดทำระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ตามควรจะทำความเข้าใจว่าการนำระบบการจัดการมาใช้อาจมีความแตกต่างออกไปบ้างเนื่องจากมีวัตถุประสงค์
ที่แตกต่างกัน และกลุ่มผู้สนใจก็แตกต่างกัน โดยระบบการจัดการคุณภาพจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า ในขณะที่ระบบ
การจัดการสิ่งแวดล้อมจะระบุความต้องการของผู้สนใจแบบกว้างๆ และวิวัฒนาการด้านความต้องการของสังคมในอันที่จะปกป้อง
สิ่งแวดล้อม
ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งระบุในมาตรฐานระหว่างประเทศฉบับนี้ไม่ได้มีเจตนาให้จัดทำระบบขึ้นอย่างเป็นอิสระกับ
ระบบการบริหารงานที่มีอยู่ ในบางกรณีสามารถทำการปรับปรุงระบบการบริหารงานปัจจุบันให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน
ฉบับนี้ได้
ระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อม - ข้อกำหนดเฉพาะและคำแนะนำสำหรับการใช้งาน
1 ขอบข่าย
มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อมเพื่อให้องค์กรทำนโยบายและวัตถุประสงค์ให้เป็น
ระบบโดยการนำข้อกำหนดกฎหมายและข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาพิจารณา ซึ่งประยุกต์ใช้กับลักษณะปัญหา
สิ่งแวดล้อมซึ่งองค์กรสามารถควบคุม และที่คาดว่าจะมีอิทธิพลเหนือลักษณะนั้นๆ มาตรฐานฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงเกณฑ์การดำเนินการ
ด้านสิ่งแวดล้อมเฉพาะ
มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรใดๆซึ่งต้องการ
a) นำระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุง
b) ประกันว่าการดำเนินงานขององค์กรสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดไว้
c) แสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมได้
d) ขอใบรับรอง/จดทะเบียนระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อมกับองค์กรภายนอก
e) มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน และประกาศว่าตนได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนดต่างๆในมาตรฐานนี้กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อมซึ่งการจะนำไปใช้ได้มากน้อย
เพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กร ลักษณะของกิจกรรม และเงื่อนไขที่ใช้ในการปฏิบัติ นอกจากนั้นมาตรฐาน
ฉบับนี้ยังให้ข้อมูลซึ่งเป็นแนวทางในการนำไปใช้ไว้ในภาคผนวก A
ในการนำ ISO14001 ไปใช้ต้องระบุขอบข่ายไว้อย่างชัดเจน
หมายเหตุ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ข้อย่อยของมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเรื่องเดียวกันจะใช้หมายเลขข้อเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
ข้อ 4.3.3 และ A.3.3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ข้อ 4.5.4 และ A.5.4 เป็นเรื่องการตรวจติดตาม
ระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อม
2 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีเอกสารอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน
3. คำจำกัดความ
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานฉบับนี้มีดังนี้
3.1 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการในการดำเนินงานเพื่อให้ระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อมบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
โดยรวมให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
หมายเหตุ กระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่จำเป็นต้องปฏิบัติพร้อมกันในทุกพื้นที่
3.2 สิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมต่างๆในการดำเนินงานขององค์กรประกอบด้วย อากาศ น้ำ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ มนุษย์ และความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งต่างๆดังกล่าว
หมายเหตุ สภาพแวดล้อมในความหมายนี้ เริ่มจากภายในองค์กรและขยายขอบเขตครอบคลุมถึงระบบสิ่งแวดล้อมโลก